นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน)

บริษัทตระหนักดีว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ มั่นคงและยั่งยืน คณะกรรมการบริษัทจึงได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ก.ล.ต. และ ตลท. ซึ่งอ้างอิงจากหลักการกำกับดูแลกิจการที่เป็นสากลของ Organization for Economic CO-operation and Development (OECD) และคณะกรรมการบริษัทได้มีการทบทวนและปรับปรุงการกำกับดูแลกิจการที่ดีอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์และสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยประกอบด้วย 5 หมวด ดังนี้

  1. สิทธิของผู้ถือหุ้น (Rights of Shareholders)
  2. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน (Equitable Treatment of Shareholders)
  3. การคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย (The Role of Stakeholders)
  4. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส (Disclosure and Transparency)
  5. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ (Board Responsibilities)
  1. สิทธิของผู้ถือหุ้น (Rights of Shareholders)
    บริษัทตระหนักดีว่าผู้ถือหุ้นเป็นผู้มีสิทธิในความเป็นเจ้าของบริษัท โดยการควบคุมบริษัทผ่านการแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้ทำหน้าที่แทนตน บริษัทจึงให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้ถือหุ้นทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ถือหุ้นรายย่อย ผู้ลงทุนต่างชาติ หรือผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้น ตลอดจนการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นในการใช้สิทธิของตนในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ตามสิทธิที่มีอยู่โดยชอบด้วยกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ โดยบริษัทได้ดำเนินการ ดังนี้
    1. การปกป้องสิทธิของผู้ถือหุ้น
      บริษัทตระหนักเป็นอย่างยิ่งถึงความสำคัญของหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแลปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น การคุ้มครองและส่งเสริมผู้ถือหุ้นทุกรายให้ได้รับและใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของตนตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับต่าง ๆ ของบริษัทอย่างเหมาะสมที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกัน เพื่อให้สอดคล้องกับข้อบังคับ กฎเกณฑ์ ระเบียบของสำนักงาน ก.ล.ต. และ ตลท. รวมถึงกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้น เช่น การซื้อขายหุ้น การโอนหุ้น การมีส่วนแบ่งในกำไรของกิจการ การได้รับข้อมูลข่าวสารของบริษัทอย่างเพียงพอ การเข้าร่วมประชุมเพื่อใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง ถอดถอน และกำหนดคำตอบแทนกรรมการ แต่งตั้งและกำหนดคำตอบแทนของผู้สอบบัญชี และการพิจารณาเรื่องที่มีผลกระทบต่อบริษัท เช่น การจัดสรรเงินปันผล การกำหนดหรือการแก้ไขข้อบังคับและหนังสือบริคณห์สนธิ การลดทุนหรือเพิ่มทุน และการอนุมัติวาระพิเศษ เป็นต้น
      นอกจากนี้ บริษัทได้ให้ความเคารพต่อสิทธิของผู้ถือหุ้นและปกป้องสิทธิของผู้ถือหุ้นทุกรายคณะกรรมการบริษัทจึงไม่มีการกำหนดนโยบายในลักษณะที่เป็นการกีดกันหรือสร้างอุปสรรคให้แก่ผู้ถือหุ้นในการใช้สิทธิของตน และไม่มีแนวนโยบายในการทาข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้นที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัทหรือ ผู้ถือหุ้นรายอื่น อีกทั้ง บริษัทยังมีการตรวจสอบการทารายการระหว่างกัน เพื่อไม่ให้เป็นการเอารัดเอาเปรียบหรือลิดรอนสิทธิของผู้ถือหุ้นรายย่อยอีกด้วย
    2. การประชุมผู้ถือหุ้น
      บริษัทได้จัดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ภายใน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นสุดรอบปีบัญชีของบริษัทหรือตามรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สำหรับการประชุมผู้ถือหุ้นคราวอื่นจะเป็นการประชุมวิสามัญ ผู้ถือหุ้น ซึ่งคณะกรรมการบริษัทจะเรียกประชุมตามที่เห็นสมควร โดยคณะกรรมการบริษัทมีแนวนโยบายในการสนับสนุนและจัดให้มีกระบวนการต่าง ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการประชุม เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นทุกราย รวมถึงผู้ลงทุนสถาบันเข้าร่วมประชุมและใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนด้วย นอกจากนี้ บริษัทให้ความสำคัญกับการกำหนดวัน เวลา สถานที่ และระบบการประชุมทั้งในกรณีการ จัดประชุมแบบปกติ (Physical Meeting) และในกรณีการจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) ให้มีความเหมาะสม สะดวก และปลอดภัยในการเข้าร่วมประชุมของผู้ถือหุ้นทุกราย รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถเสนอวาระการประชุมเป็นการล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นได้ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่บริษัทหรือกฎเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด รวมถึงได้เผยแพร่รายละเอียดหลักเกณฑ์ ช่องทาง ช่วงเวลา ให้ผู้ถือหุ้นทราบผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทและแจ้งผลการเสนอวาระการประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้นทราบผ่านทางระบบข่าวของ ตลท. และเว็บไซต์ของบริษัท นอกจากนี้ บริษัทได้จัดทาหนังสือเชิญประชุมที่ระบุวาระการประชุม ข้อเท็จจริงและเหตุผล รวมถึงความเห็นของคณะกรรมการบริษัทอย่างชัดเจน พร้อมเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องของแต่ละวาระการประชุมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งได้มีการเผยแพร่หนังสือเชิญประชุมดังกล่าวล่วงหน้าบนเว็บไซต์ของบริษัท รวมถึงเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์รายวันและจัดส่งให้แก่ผู้ถือหุ้นทางไปรษณีย์ล่วงหน้าก่อนการประชุมไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีข้อมูลและระยะเวลาที่เพียงพอต่อการพิจารณาตัดสินใจในแต่ละวาระได้ตรงตามเจตนารมณ์อย่างแท้จริง นอกจากนี้ บริษัทยังเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นที่มีข้อสงสัยสามารถส่งคาถามที่ต้องการให้คณะกรรมการบริษัทตอบในที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้เป็นการล่วงหน้า โดยการส่งคาถามผ่านช่องทางต่าง ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด และในระหว่างการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถสอบถาม เสนอแนะ หรือแสดงข้อคิดเห็นในวาระที่เกี่ยวข้องได้ อีกทั้ง ภายหลังการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทได้จัดทารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นที่ถูกต้องครบถ้วนและสามารถตรวจสอบได้ โดยได้เผยแพร่รายงานการประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวบนเว็บไซต์ของบริษัท ทั้งนี้ ในวาระการเลือกตั้งกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ บริษัทได้ระบุข้อมูลส่วนตัว ประกอบด้วยชื่อ-นามสกุล อายุ ประวัติการศึกษา ประวัติการทางาน จำนวนบริษัทที่ดำรงตำแหน่งกรรมการ (โดยแยกเป็นหัวข้อบริษัทจดทะเบียน และบริษัททั่วไป) รวมถึงหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการ ประเภทของกรรมการที่เสนอ ข้อมูลการเข้าร่วมประชุมในปีที่ผ่านมา และวันที่ เดือน และปีที่ได้รับการเสนอแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทในวาระแรก และในวาระการจ่ายคำตอบแทนกรรมการ บริษัทได้นำเสนอนโยบาย วิธีการ หลักเกณฑ์ ในการกำหนดคำตอบแทนกรรมการแต่ละตำแหน่งด้วย บริษัทได้จัดส่งหนังสือมอบฉันทะตามแบบที่กฎหมายกำหนดให้แก่ผู้ถือหุ้นพร้อมกับหนังสือเชิญประชุม โดยมีคาอธิบายวิธีการและเอกสารที่ผู้ถือหุ้นต้องจัดเตรียมให้ผู้รับมอบฉันทะ เพื่อใช้ในการเข้าร่วมประชุมแทนผู้ถือหุ้น อันเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ด้วยตนเองสามารถ มอบฉันทะให้ผู้อื่น หรือแต่งตั้งกรรมการอิสระท่านใดท่านหนึ่งตามที่ระบุในหนังสือมอบฉันทะให้เป็นผู้รับมอบฉันทะเข้าร่วมการประชุมและออกเสียงตามที่ผู้ถือหุ้นระบุได้ บริษัทได้จัดเตรียมบุคลากร ระบบและเทคโนโลยีต่าง ๆ สำหรับอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้รับมอบฉันทะอย่างเหมาะสม เพียงพอ และสะดวกรวดเร็ว ตั้งแต่ขั้นตอนการลงทะเบียน การเข้าร่วมประชุม การลงคะแนนเสียง การนับคะแนน การส่งคาถาม และการประมวลผลข้อมูล เพื่อความชัดเจน ถูกต้อง โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ บริษัทสนับสนุนและส่งเสริมให้กรรมการบริษัท กรรมการผู้จัดการ ประธานคณะกรรมการชุดย่อยและผู้บริหารระดับสูงทุกท่านเข้าร่วมการประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อชี้แจง ตอบข้อซักถาม ตลอดจนรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ ผู้สอบบัญชีของบริษัทได้เข้าร่วมการประชุมผู้ถือหุ้นด้วย โดยก่อนเริ่มการพิจารณาระเบียบวาระการประชุม บริษัทได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นรับทราบกฎเกณฑ์ วิธีการ ในการเข้าร่วมประชุมและการมอบฉันทะ รวมถึงอธิบายหลักเกณฑ์ วิธีการออกเสียงลงคะแนน การนับ คะแนนเสียงและการถามคาถามให้ผู้ถือหุ้นทราบด้วย รวมถึงส่งเสริมให้มีบุคคลอิสระ หรือตัวแทนผู้ถือหุ้นรายย่อยเข้าตรวจสอบและสังเกตการณ์การนับคะแนนเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อความชัดเจนและโปร่งใสด้วย โดยบริษัทจะดำเนินการประชุมตามวาระการประชุมที่กำหนดไว้ในหนังสือเชิญประชุม และไม่มีการเพิ่มวาระการประชุมหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลสำคัญโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า รวมถึงให้สิทธิแก่ ผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกันในการร่วมแสดงความคิดเห็น และตั้งคาถามใด ๆ ต่อที่ประชุมตามระเบียบวาระการประชุม และเรื่องที่เสนอได้ตามความเหมาะสม บริษัทมีการแจ้งมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นผ่านระบบข่าวของ ตลท. ตามระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่ ตลท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด รวมถึงมีการบันทึกและจัดทารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นที่ถูกต้องและครบถ้วน ประกอบด้วยรายละเอียดจำนวนองค์ประชุม จำนวนผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง และผู้รับมอบฉันทะที่เข้าประชุมแทนผู้ถือหุ้น รายชื่อและตำแหน่งของกรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อย ผู้บริหารระดับสูงและผู้สอบบัญชีที่เข้าร่วมประชุม รวมถึงรายชื่อและตำแหน่งของกรรมการที่ไม่เข้าร่วมประชุม หลักเกณฑ์และวิธีการลงคะแนน การนับคะแนน ผลการลงคะแนนเสียงในแต่ละวาระการประชุม ทั้งเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย งดออกเสียง และบัตรเสีย พร้อมทั้งบันทึกข้อซักถาม คาชี้แจง ข้อคิดเห็น และข้อมูลใด ๆ ตามที่กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมถึงจัดส่งให้แก่ ตลท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงเผยแพร่รายงานการประชุมบนเว็บไซต์บริษัทภายในระยะเวลาที่กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนด เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบได้ อีกทั้ง จัดให้มีระบบการจัดเก็บรายงานการประชุมที่ดีที่สามารถตรวจสอบและอ้างอิงได้
  2. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน (Equitable Treatment of Shareholders)
    บริษัทให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ถือหุ้นรายย่อย ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนต่างชาติ จึงกำหนดแนวนโยบายในการดูแลปกป้องและสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นทุกรายได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน ดังต่อไปนี้
    1. บริษัทเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น และเสนอชื่อบุคคลเพื่อพิจารณาเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการของบริษัทเป็นการล่วงหน้าก่อนวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่บริษัท หรือกฎเกณฑ์หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด รวมถึงเผยแพร่รายละเอียดหลักเกณฑ์ ช่องทาง ช่วงเวลาให้แก่ผู้ถือหุ้นทราบผ่านเว็บไซต์ของบริษัท พร้อมทั้งแจ้งผลการเสนอวาระการประชุมและชื่อบุคคลเพื่อพิจารณาเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการของบริษัทให้ผู้ถือหุ้นรับทราบ ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทและผ่านระบบข่าวของ ตลท.
    2. บริษัทจัดทาหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นและเอกสารประกอบการประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    3. บริษัทได้แจ้งกำหนดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเป็นการล่วงหน้า โดยเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของ ตลท. เพื่อให้ผู้ถือหุ้นทุกรายสามารถจัดสรรเวลาในการเข้าร่วมประชุมได้
    4. บริษัทจัดส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องของแต่ละวาระการประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกราย และเผยแพร่หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นรวมถึงเอกสารดังกล่าวไว้บนเว็บไซต์ของบริษัท รวมถึงได้ประกาศโฆษณาหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นในหนังสือพิมพ์รายวันล่วงหน้าก่อนวันประชุมภายในระยะเวลาที่กฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกำหนด
    5. ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ด้วยตนเอง บริษัทได้จัดให้มีหนังสือมอบฉันทะในรูปแบบที่ผู้ถือหุ้นสามารถกำหนดแนวทางในการออกเสียงลงคะแนนได้ โดยบริษัทได้จัดส่งหนังสือมอบฉันทะให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกรายพร้อมกับหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ด้วยตนเองสามารถมอบฉันทะให้กับบุคคลอื่นเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทนตนได้ ทั้งนี้ บริษัทได้ระบุถึงเอกสารหรือหลักฐาน ขั้นตอนในการมอบฉันทะให้ผู้ถือหุ้นทุกรายทราบอย่างชัดเจน เพื่อให้ ผู้ถือหุ้นจัดเตรียมเอกสารสำหรับให้ผู้รับมอบฉันทะเข้าร่วมประชุมแทนตนได้อย่างถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ อันจะทาให้ไม่เกิดปัญหาในการเข้าร่วมประชุมของผู้รับมอบฉันทะ โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการมอบฉันทะได้กำหนดขึ้นภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมาย ซึ่งไม่มีการกำหนดมาตรการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่ผู้ถือหุ้นทุกรายในการมอบฉันทะ นอกจากนี้ บริษัทยังให้ผู้ถือหุ้นทุกรายสามารถมอบฉันทะให้กรรมการอิสระท่านใดท่านหนึ่งของบริษัทที่ได้ระบุไว้ในหนังสือมอบฉันทะดังกล่าวเพื่อรักษาสิทธิของตนได้อีกด้วย
    6. ในการประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทให้สิทธิผู้ถือหุ้นในการออกเสียงลงคะแนน 1 หุ้นต่อ 1 เสียง
    7. คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัททุกท่านทำการเปิดเผยข้อมูลและรายงานเกี่ยวกับส่วนได้เสียของตนและผู้เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการบริษัทและกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกำหนด เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทสามารถพิจารณาธุรกรรมของบริษัทที่อาจมีความขัดแย้งของผลประโยชน์และสามารถตัดสินใจเพื่อประโยชน์ของบริษัทโดยรวมได้ ทั้งนี้ กรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่มีส่วนได้เสียกับธุรกรรมที่ทากับบริษัทจะไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทาธุรกรรมดังกล่าว
    8. คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดมาตรการและแจ้งให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัททราบอย่างชัดเจนและเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ในการถือครองหลักทรัพย์ในบริษัทของตนเอง คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ตลอดจนรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด และได้จัดให้มีการเปิดเผยการถือครองหลักทรัพย์ของกรรมการบริษัท และผู้บริหารไว้ในรายงานประจำปี
    9. คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดมาตรการและแจ้งให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัททราบอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการห้ามกรรมการและผู้บริหารนาข้อมูลภายในที่มีสาระสำคัญของบริษัท (Insider Trading Measures) ซึ่งยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนไปใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น (Abusive self-dealing) ซึ่งรวมถึงการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทโดยกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทซึ่งอยู่ในหน่วยงานที่ทราบข้อมูลภายในที่เกี่ยวข้องด้วย โดยได้กำหนดช่วงเวลาห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ (Closed Window) ไม่น้อยกว่า 1 เดือน ก่อนมีการเปิดเผยรายงานด้านการเงินในทุกไตรมาสและทุกสิ้นรอบปีบัญชี
    10. ในการทารายการระหว่างกัน บริษัทและบริษัทย่อยต้องกระทารายการระหว่างกันเสมือนการตกลงทารายการกับบุคคลหรือนิติบุคคลภายนอก ภายใต้เงื่อนไขการค้าทั่วไป (Fair and at arm's length) โดยคำนึงถึงราคาตามธุรกิจปกติหรือเป็นราคาอ้างอิงกับราคาตลาด และคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบริษัทเป็นสำคัญ รวมถึงคณะกรรมการบริษัทได้กำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยข้อมูลรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียนอย่างเคร่งครัดด้วย

    นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของ ตลท. และสำนักงาน ก.ล.ต. และทบทวนสอบทานการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการอย่างสม่าเสมอ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นทุกรายมั่นใจว่าจะได้รับการปฏิบัติจากบริษัทและสามารถใช้สิทธิที่ตนมีอยู่ได้อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน

  3. บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย (The Role of Stakeholders) บริษัทได้ให้ความสำคัญและคำนึงสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ของบริษัททุกกลุ่มทั้งภายในและภายนอกเป็นอย่างยิ่ง โดยบริษัทตระหนักดีว่าผู้มีส่วนได้เสียของบริษัททุกรายจะต้องได้รับการดูแลจากบริษัท อย่างดีตามสิทธิที่ผู้มีส่วนได้เสียมีอยู่ตามกฎหมาย คณะกรรมการบริษัทจึงได้กำหนดให้มีกระบวนการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้เสียในการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนของกิจการ ทั้งนี้ ในระบบการกำกับดูแลกิจการมีผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญหลายกลุ่มด้วยกัน ได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ผู้ขายหรือ ผู้ให้บริการ เจ้าหนี้ สังคมและชุมชน คู่แข่งทางการค้า สิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการบริษัทได้กำหนดให้มีกลไกและกระบวนการที่จะติดตามดูแลให้มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง นอกจากนี้ บริษัทตระหนักดีว่าผลการดำเนินงานที่ดีของบริษัทเกิดจากการได้รับการสนับสนุนจากผู้มี ส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ คณะกรรมการบริษัทจึงได้กำหนดนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้เสียในการสร้างสรรค์ประโยชน์ร่วมกัน และสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียว่า ผู้มีส่วนได้เสียทุกรายจะได้รับการคุ้มครองและปฏิบัติด้วยดี โดยบริษัทได้ให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
    1. ผู้ถือหุ้น
      1. บริษัทมีนโยบายในการดำเนินธุรกิจด้วยความสุจริต รอบคอบและโปร่งใส กำหนดเป้าหมายในการเพิ่มยอดขาย กำไร และเสริมสร้างสถานะทางการเงินให้มั่นคง รวมถึงมุ่งเน้นการทางานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและมั่นคง โดยบริษัทตระหนักถึงความรับผิดชอบในการเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนและรายงานผลประกอบการและการดำเนินงานของบริษัทให้กับผู้ถือหุ้นอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ บริษัทมีการกำกับดูแล ป้องกันมิให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทแสวงหาประโยชน์จากการใช้ข้อมูลที่ยังมิได้เปิดเผยในทางมิชอบ รวมถึงบริหารจัดการและตัดสินใจในทางธุรกิจอย่างระมัดระวังและรอบคอบ นอกจากนี้ บริษัทยังมีนโยบายส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้น รวมถึงนักลงทุนสถาบันในการเข้าร่วมการประชุมผู้ถือหุ้นอีกด้วย
    2. พนักงาน บริษัทตระหนักถึงความสำคัญและใส่ใจในคุณค่าของพนักงาน ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยมีแนวนโยบายว่าพนักงานต้องได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม ตามหลักสิทธิมนุษยชน ไม่มีนโยบายเลือกปฏิบัติและให้ความเสมอภาคด้านการส่งเสริมอาชีพ และมีการกำหนดนโยบายการจ้างงานที่ไม่จำกัดเชื้อชาติ สีผิว เพศ ศาสนา สัญชาติ และความคิดเห็นทางการเมือง นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาด้านผลตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากลักษณะงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงาน และมีการพัฒนาศักยภาพของพนักงานอย่างต่อเนื่องและสม่าเสมอ โดยมีการอบรม การสอนงาน การทาให้ดูเป็นตัวอย่าง การให้ริเริ่มทาโครงการที่ท้าทายความสามารถ ซึ่งจะพิจารณาเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับความแตกต่างหลากหลายของพนักงานเพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของพนักงานจนเกิดการนาความรู้มาบูรณาการให้เกิดประโยชน์ต่อตัวพนักงานบริษัท รวมทั้งให้ความสำคัญ ในการเติบโตภายในองค์กร บริษัทมีการสร้างความมั่นใจในคุณภาพชีวิตของพนักงาน โดยได้ดำเนินการตามนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมการทางานตามหลักของระบบการจัดการความปลอดภัยสากล เพื่อพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมให้เกิดประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน และมีการเก็บสถิติการบาดเจ็บจากการทางานเพื่อนามาวิเคราะห์และปรับปรุงมาตรฐานด้านความปลอดภัยของพนักงานอย่างต่อเนื่อง
    3. ลูกค้า บริษัทตระหนักถึงสิทธิของลูกค้าและผู้บริโภคในอันที่จะได้รับและเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและปลอดภัยในราคาที่เหมาะสมและมีบริการหลังการขายที่ดี รวมทั้งการตอบแทนลูกค้าในรูปแบบของรายการส่งเสริมการขายที่บริษัทจัดขึ้นเป็นระยะ ๆ โดยบริษัทมีศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์และมีระบบรับฟัง ตรวจสอบข้อร้องเรียนของลูกค้าเกี่ยวกับสินค้าและการบริการของบริษัทและดำเนินการแก้ไขอย่างรวดเร็ว
    4. คู่ค้า ผู้ขายหรือผู้ให้บริการ บริษัทเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างยุติธรรมและเต็มกาลังในการนำเสนอสินค้าหรือบริการแก่บริษัท โดยบริษัทจะเลือกรับสินค้าหรือบริการจากผู้ขาย หรือผู้ให้บริการบนพื้นฐานของคุณภาพสินค้า ราคา การให้บริการ ความน่าเชื่อถือ ประสิทธิภาพและค่าใช้จ่ายที่สอดคล้องกันในด้านของคู่แข่งขันทางการค้า บริษัทยึดมั่นต่อการดำเนินการค้าแบบเสรี โดยมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเสมอภาคและคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน
    5. เจ้าหนี้ บริษัทปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ทุกกลุ่มอย่างเป็นธรรม มีความรับผิดชอบและโปร่งใส โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดเรื่องหลักประกันและข้อตกลงในสัญญาที่ให้ไว้กับเจ้าหนี้ต่าง ๆ ตลอดจนไม่ใช้วิธีการที่ไม่สุจริต ปกปิดข้อมูลหรือข้อเท็จจริงอันจะทาให้เจ้าหนี้เกิดความเสียหาย รวมถึงมีการบริหารสภาพคล่องทางการเงินที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถชาระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ตามเงื่อนไขและตรงตามกำหนดเวลา กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง บริษัทจะรีบแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบล่วงหน้า เพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
    6. สังคมและชุมชน บริษัทตระหนักถึงหน้าที่ของการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน ด้วยการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม อันเห็นได้จากการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการตอบแทนสังคม บริเวณโดยรอบพื้นที่ที่โรงงานอุตสาหกรรมของบริษัทตั้งอยู่จะมีการสร้างงานและสร้างโอกาสให้แก่ชุมชน รวมทั้งการให้ความสำคัญต่อความต้องการของชุมชนโดยได้เข้าร่วมกิจกรรมช่วยเหลือสังคมและชุมชนโดยรอบโรงงานที่ทางกลุ่มบริษัทได้ตั้งอยู่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าบริษัทมีความรับผิดชอบต่อสังคมตามมาตรฐานกรมโรงงานอุตสาหกรรมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อชุมชน ซึ่งทาให้เกิดการยอมรับ เชื่อมั่น และไว้วางใจจากชุมชนในการประกอบกิจการ นาไปสู่การอยู่ร่วมกันระหว่างโรงงาน ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
    7. คู่แข่งทางการค้า บริษัทมีแนวนโยบายที่จะปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า โดยไม่ละเมิดความลับหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าของคู่แข่งขันด้วยวิธีฉ้อฉล ไม่ใช้วิธีการที่ไม่สุจริตและไม่ทาลายชื่อเสียงของคู่แข่งขันทางการค้าด้วยวิธีการ ใด ๆ โดยบริษัทดำเนินกิจการภายใต้กรอบกติกาการแข่งขันสากลอย่างสม่าเสมอ
    8. สิ่งแวดล้อม บริษัทเล็งเห็นความจาเป็นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยบริษัทได้รับการรับรองมาตรฐานสากลระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14001:2015 ครบทุกโรงงานของบริษัท นอกจากนี้บริษัทได้นาหลักการ Clean Technology และ 3R (Reduce, Reuse, Recycle) มาประยุกต์ใช้ตลอดการประกอบกิจการผลิตและจัดจาหน่ายเครื่องดื่มของบริษัทภายใต้กลยุทธ์ Sermsuk Green Dimensions ซึ่งประกอบด้วย 5 มิติ คือ น้า บรรจุภัณฑ์ พลังงาน สภาพแวดล้อมในโรงงาน และทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้ทางบริษัทยังได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและได้สนับสนุนกิจกรรมกับทางบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ในการประเมินความยั่งยืน DJSI (Dow Jones Sustainability Indices) ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้ประเมินประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทชั้นนาระดับโลก รวมทั้งการขยายผลไปสู่สาธารณชนภายนอกด้วยการเป็นโรงงานต้นแบบในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับสังคมและผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เพื่อร่วมขับเคลื่อนสังคมไทยในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และเพื่อเป้าหมายการเป็นบริษัทที่เติบโตเคียงคู่สิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืนของสังคมไทย
    9. ส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง นอกเหนือจากแนวทางการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดแนวทางการดำเนินการในด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมและการดูแลและปกป้องสิทธิประโยชน์ของ ผู้มีส่วนได้เสีย ดังนี้
      1. แนวทางดำเนินการเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน บริษัทเคารพในสิทธิมนุษยชนของพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ โดยบริษัทไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใด ๆ ที่มีความแตกต่างทางแนวคิด เชื้อชาติ สัญชาติ สีผิว ศาสนา เพศ ความพึงพอใจทางเพศ วัฒนธรรมหรือสถานภาพอื่นใดที่ถือเป็นสิทธิมนุษยชน รวมถึงจะนาแนวทางปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนที่เหมาะสมมาปรับใช้กับองค์กรและจะไม่เกี่ยวข้องหรือให้การสนับสนุนหรือมีส่วนร่วมใด ๆ กับบุคคลหรือกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย รวมถึงจัดให้มีช่องทางในการแจ้งเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนไว้ด้วย โดยช่องทางดังกล่าวอยู่ภายใต้หัวข้อแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการรับเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแส และข้อร้องเรียนจะถูกจัดเก็บเป็นความลับ
      2. แนวทางดำเนินการเกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ในการดำเนินธุรกิจนั้น บริษัทตระหนักและให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์และพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้าและสิทธิบัตร เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ถือเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของบริษัทซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทได้ โดยในส่วนของเครื่องหมายการค้านั้น บริษัทได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งในและต่างประเทศ เพื่อรักษาและปกป้องสิทธิของบริษัท บริษัทมีนโยบายในการปฏิบัติเกี่ยวกับการไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยบริษัทมีแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เช่น พนักงานทุกคนจะต้องลงนามในบันทึกข้อตกลงการ ไม่กระทาผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และการไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งบริษัทมีการกำหนดนโยบายการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกลุ่มบริษัท และได้มีการตรวจสอบการใช้ระบบโปรแกรมซอฟท์แวร์การทางานของพนักงาน เพื่อป้องกันการใช้ซอฟท์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่เกี่ยวข้องกับการทางานอยู่เป็นประจำ
      3. แนวทางดำเนินการเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
        ที่มา บริษัท เสริมสุข จากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (“เสริมสุข”) ดำเนินธุรกิจด้วยความยุติธรรมและยึดมั่นตามจรรยาบรรณเครือเสริมสุข รวมทั้งคานึงถึงผลประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนได้เสียจากการดำเนินธุรกิจ นโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (“นโยบาย”) เป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจและดำเนินการเพื่อป้องกันการคอร์รัปชั่น รวมถึงเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจและเสริมสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนในอนาคต
        วัตถุประสงค์และแนวทางปฏิบัติของนโยบายมีดังต่อไปนี้
        1. คอร์รัปชั่น หมายถึง การรับ/ให้สินบนเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์อันไม่ชอบธรรมจากธุรกรรมทางธุรกิจหรือการกระทาอันฉ้อฉล
        2. กรรมการและพนักงาน จะต้องไม่ยอมรับการคอร์รัปชั่นการคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและหน่วยงานในทุกประเทศที่เสริมสุขดำเนินธุรกิจ
        3. กรรมการและพนักงาน ต้องหลีกเลี่ยงการกระทาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น
        4. กรรมการผู้จัดการ บุคคลหรือกลุ่มคนที่ได้รับการแต่งตั้งจากกรรมการผู้จัดการ มีหน้าที่ติดตามและกำหนดให้มีระบบรองรับการต่อต้านการคอร์รัปชั่นที่มีประสิทธิภาพ โดยรายงานต่อประธานคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบ
        5. กรรมการผู้จัดการ บุคคลหรือกลุ่มคนที่ได้รับการแต่งตั้งจากกรรมการผู้จัดการมีหน้าที่ทบทวนนโยบายให้ทันสมัย สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ กฎระเบียบ มาตรฐาน และกฎหมาย โดยรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท
        6. กรรมการผู้จัดการและผู้บริหารระดับสูง มีหน้าที่ในการเสริมสร้างความเข้าใจและการปฏิบัติตามนโยบาย
        7. กรรมการและพนักงานจะต้องเฝ้าระวังการคอร์รัปชั่นใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเสริมสุข หากกรรมการพบการคอร์รัปชั่น ให้กรรมการแจ้งการกระทาดังกล่าวแก่ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ หากพนักงานพบการคอร์รัปชั่น พนักงานมีหน้าที่แจ้งการกระทาดังกล่าวต่อผู้บังคับบัญชาฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
        8. บุคคลที่กระทำการทุจริตคอร์รัปชั่นจะถูกนาส่งเข้าสู่กระบวนการพิจารณาความผิดทางวินัย เมื่อคณะกรรมการที่รับผิดชอบได้ตรวจสอบอย่างเพียงพอแล้ว บุคคลผู้กระทาผิดจะถูกกำหนดบทลงโทษอย่างเคร่งครัดตามกฎระเบียบของเสริมสุขว่าด้วยการประพฤติผิดหรือการละเมิดในกรณีที่การกระทาดังกล่าวเป็นการกระทาที่ผิดกฎหมายด้วย ผู้กระทาความผิดอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
        9. ผู้บังคับบัญชาทุกระดับต้องดำเนินการให้แน่ใจว่าพนักงานในสายบังคับบัญชาตระหนักถึงนโยบายและต้องติดตามการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
      4. แนวทางดำเนินการเกี่ยวกับการรับเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแส หลักการและเหตุผล บริษัท เสริมสุข จากัด (มหาชน) (“บริษัท”) และบริษัทย่อย (รวมเรียกว่า “กลุ่มบริษัท”) ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานอย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จึงได้จัดให้มีมาตรการกำกับดูแลและกำหนดช่องทางสำหรับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอก ซึ่งรวมถึงพนักงานของกลุ่มบริษัททุกคน (“พนักงาน”) ในการร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส ต่าง ๆ ทั้งนี้ บริษัทมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายว่า สิทธิของผู้มีส่วนได้เสียนั้นจะได้รับการปฏิบัติดูแลอย่างดีที่สุดจากบริษัทด้วยความเป็นธรรมและเท่าเทียม คานิยามของการรับเรื่องร้องเรียน การรับเรื่องร้องเรียน หมายถึง การรับข้อมูลเกี่ยวกับการกระทาความผิด ไม่ว่าจะเป็นการทุจริตคอร์รัปชั่นทั้งภายในและภายนอกองค์กร การกระทาที่สงสัยว่าฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ จรรยาบรรณ หรือนโยบายต่าง ๆ การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม การกระทาใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กลุ่มบริษัท การบกพร่องด้านสินค้าหรือบริการ รวมถึงข้อเสนอแนะ ข้อร้องเรียนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ กลุ่มบริษัท และการกระทาที่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยและสุขภาพของบุคคลหรือสิ่งแวดล้อม
          กระบวนการแจ้งเรื่องร้องเรียน
          1. ให้พนักงานแจ้งเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแสเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ผู้บังคับบัญชาตามสายงาน / ส่วนงาน / สานักงานหรือสานัก ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาตามสายงาน / ส่วนงาน / สานักงานหรือสานักของพนักงาน ควรให้ความช่วยเหลือพนักงานในการดำเนินการกับข้อร้องเรียนของพนักงานอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ หรือในกรณีที่พนักงานไม่ต้องการแจ้งเรื่องดังกล่าวกับบุคคลดังกล่าวด้วยสาเหตุประการใดก็ตาม สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแสได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้
          ทางโทรศัพท์ : หัวหน้างานตรวจสอบภายใน
          ที่หมายเลข 0-2783-9000 ต่อ 9040
          หัวหน้าสานักกฎหมาย งานกำกับดูแล และเลขานุการบริษัท
          ที่หมายเลข 0-2783-9000 ต่อ 9019
          ทางอีเมล : SSC-ComSec@sermsukplc.com
          ส่วนงานเลขานุการบริษัท
          SSC-whistleblowing@sermsukplc.com
          สานักกฎหมาย ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และฝ่ายตรวจสอบภายใน
          SSC-CGC@sermsukplc.com
          คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ
          ทางไปรษณีย์ : คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ บริษัท เสริมสุข จากัด (มหาชน)
          ที่อยู่ 90 อาคาร ซีดับเบิ้ล ยู ทาวเวอร์ ชั้น ที่ 31-32 ถนนรัชดาภิเษก
          แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
          ทั้งนี้ บริษัทอาจมีการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นครั้งคราวเพื่อให้พนักงานสามารถติดต่อในเรื่องดังกล่าวได้ ซึ่งบริษัทจะประกาศการแต่งตั้งดังกล่าวให้พนักงานทราบโดยทั่วกัน
          2. หลังจากที่บุคคลตามข้อ 1. ได้รับเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแส จะมีการรวบรวบข้อมูล ประมวลผลบริหารจัดการ และตรวจสอบเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแส หากมีมูลความจริง จะนำเสนอผลการตรวจสอบให้กรรมการผู้จัดการ ประธานคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัท แล้วแต่กรณี
          3. ภายหลังการพิจารณา ดำเนินการ แก้ไข ปรับปรุงตามเรื่องร้องเรียนหรือเบาแสที่ได้รับมาแล้ว บริษัทจะแจ้งผลการดำเนินการให้ผู้ร้องเรียนหรือผู้แจ้งเบาะแสที่บริษัทสามารถติดต่อได้ทราบตามขั้นตอนและภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
        การให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแสและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนหรือผู้แจ้งเบาะแสรวมถึงผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง บริษัทจะไม่เปิดเผยชื่อ ที่อยู่ ภาพ หรือข้อมูลอื่นใดของผู้ร้องเรียนหรือผู้แจ้งเบาะแสและผู้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงรวมถึงกำหนดมาตรการคุ้มครองในกรณีที่ผู้นั้นเห็นว่าตนอาจได้รับความไม่ปลอดภัยหรืออาจเกิดความเดือดร้อนเสียหาย โดยผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจะได้รับการบรรเทาความเสียหายด้วยกระบวนการที่มีความเหมาะสมและเป็นธรรม เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามที่กฎหมายและหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกำหนด ทั้งนี้ บุคคลใด ๆ ที่ได้รับทราบเรื่องการแจ้งเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแส หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแสตามนโยบายนี้ จะต้องปกป้องข้อมูลเรื่องการร้องเรียนหรือการแจ้งเบาะแส หรือที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการร้องเรียนหรือการแจ้งเบาะแส ให้เป็นความลับ และไม่เปิดเผยต่อบุคคลอื่น โดยคานึงถึงความปลอดภัยและความเสียหายของผู้แจ้งร้องเรียนหรือเบาะแส แหล่งที่มาของข้อมูล หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่กรณีที่มีความจาเป็นในขั้นตอนการดำเนินการตามนโยบายนี้ หรือตามที่กฎหมายกำหนด หากมีการจงใจฝ่าฝืนหรือประมาทเลินเล่อนาข้อมูลออกไปเปิดเผย บริษัทจะดำเนินการลงโทษทางวินัย และ/หรือดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่ฝ่าฝืน แล้วแต่กรณี
  4. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส (Disclosure and Transparency)
    1. การเปิดเผยข้อมูล บริษัทให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงิน รวมถึงข้อมูลอื่นที่สำคัญอันอาจมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัท โดยการเปิดเผยข้อมูลนั้นเป็นไปด้วยความถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา โปร่งใส ตรวจสอบได้ และสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกรายอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม บริษัทจึงได้กำหนดแนวทาง ในการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งครอบคลุมการสื่อสารทุกช่องทางของบริษัทตามที่ ตลท. กำหนด ดังนี้
      1. คณะกรรมการบริษัทดูแลรับผิดชอบการเปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศของบริษัท รวมถึงรายงานทางการเงิน ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน และสารสนเทศเรื่องอื่น ๆ ตามเกณฑ์ที่กฎหมาย สานักงาน ก.ล.ต. และ ตลท. กำหนด ให้มีความถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน โปร่งใส ตรวจสอบได้ ด้วยภาษาที่กระชับ เข้าใจง่าย มีการเปิดเผยสารสนเทศที่สำคัญ ทั้งด้านบวกและด้านลบและผ่านการพิจารณากลั่นกรองตามขั้นตอนที่กำหนด โดยคานึงถึงความจาเป็นในการรักษาข้อมูลที่เป็นความลับทางธุรกิจ กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจหรือข้อมูลที่หากเปิดเผยแล้วอาจทาให้เสียประโยชน์ และความสามารถในการแข่งขันด้วย
      2. คณะกรรมการบริษัทได้ดูแลให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดทาและเปิดเผยข้อมูล มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและมีจำนวนเพียงพอ โดยบุคลากรดังกล่าว นโยบายการกำกับดูแลกิจการ 16 บริษัท เสริมสุข จากัด (มหาชน) หมายรวมถึงผู้บริหารสูงสุดสายงานบัญชีและการเงิน ผู้จัดทาบัญชี ผู้ตรวจสอบภายใน เลขานุการบริษัท และนักลงทุนสัมพันธ์
      3. คณะกรรมการบริษัทดูแลรับผิดชอบกำกับดูแล ให้รายงานข้อมูลและผลการปฏิบัติงานต่าง ๆ ตามแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี แบบ 56-1 One Report เป็นไปอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และตรงตามกรอบระยะเวลาตามที่กฎหมายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของสานักงาน ก.ล.ต. ตลท. หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกำหนดรวมถึงเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวบนเว็บไซต์ของบริษัท เพื่อให้ผู้ถือหุ้นและผู้ที่มีส่วนได้เสียได้รับข้อมูลอย่างถูกต้องและเท่าเทียมกัน
      4. คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบต่อรายงานทางการเงินของบริษัทที่จัดทาขึ้น โดยจัดให้มีรายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทต่อรายงานทางการเงินแสดงควบคู่กับรายงานของผู้สอบบัญชีในรายงานประจำปี แบบ 56-1 One Report พร้อมทั้งกำกับดูแลให้ฝ่ายจัดการมีการจัดทางบการเงิน และข้อมูลทางการเงินให้ถูกต้องครบถ้วนภายใต้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสม และถือปฏิบัติอย่างสม่าเสมอรวมถึงการใช้ดุลยพินิจอย่างระมัดระวัง ตลอดจนการพิจารณาความสมเหตุสมผลในการจัดทา และการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
      5. บริษัทได้กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบงานนักลงทุนสัมพันธ์ เพื่อทำหน้าที่ติดต่อ สื่อสารและให้ข้อมูลกับ ผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้เสีย นักลงทุนสถาบัน รวมทั้งนักวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นธรรม เท่าเทียมกันและทันเวลา โดยเปิดเผยช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับนักลงทุนสัมพันธ์ บนเว็บไซต์ของบริษัทในหัวข้อ “นักลงทุน” รวมถึงจัดให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการดำเนินงานและโครงการต่าง ๆ ของบริษัทต่อสื่อมวลชนเพื่อให้สาธารณชนได้รับข้อมูลที่สำคัญของบริษัทอย่างถูกต้อง
      6. บริษัทได้จัดให้มีช่องทางการเปิดเผยข้อมูลซึ่งเป็นช่องทางที่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย และสาธารณชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ในการรับทราบข้อมูลของบริษัท ซึ่งบริษัทได้มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทั้งรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่สำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ของบริษัท เพื่อให้นักลงทุนและผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลของบริษัทได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและ เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ รูปแบบข้อมูลที่นำเสนอบนเว็บไซต์ของบริษัทอาจมีความแตกต่างกับข้อมูลที่ได้รายงานต่อสานักงาน ก.ล.ต. และ ตลท. หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกำหนด เนื่องจากข้อจากัดทางเทคโนโลยีบางประการ แต่เนื้อหาของข้อมูลในส่วนสาระสำคัญไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
    2. การดูแลการใช้ข้อมูลภายในและความขัดแย้งทางผลประโยชน์
      1. การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน
        บริษัทให้ความสำคัญในการดูแลการใช้ข้อมูลภายในเป็นอย่างยิ่ง โดยบริษัทได้กำหนดมาตรการ ต่าง ๆ ดังนี้
        1. บริษัทได้กำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทต้องเก็บรักษาข้อมูลความลับของบริษัทอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะข้อมูลภายในที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะหรือข้อมูลใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือมูลค่าหุ้น และกำหนดห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทนาข้อมูลที่ได้จากการเป็นกรรมการ ผู้บริหารหรือพนักงานของบริษัทไปแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยไม่ชอบ รวมถึงบริษัทมีการจากัดการรับรู้ข้อมูลที่สำคัญได้เฉพาะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องของบริษัทเท่านั้น
        2. บริษัทได้กำหนดให้ผู้บริหารรายงานการถือหลักทรัพย์ และการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ต่อสานักงาน ก.ล.ต. ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยกำหนดให้กรรมการและผู้บริหารระดับสูงแจ้งต่อเลขานุการบริษัทเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นของบริษัทของตนเอง 1 วันล่วงหน้าก่อนทำการซื้อขาย รวมมีการกำหนดนโยบายอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ซึ่งอยู่ในหน่วยงานที่รับทราบข้อมูลภายใน รวมถึงคู่สมรสหรือบุคคลที่อยู่กินด้วยกันฉันสามี ภรรยาและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทก่อนการประกาศงบการเงินต่อสาธารณชนไม่น้อยกว่า 1 เดือน โดยได้จัดทาประกาศและแจ้งให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัททราบเป็นการล่วงหน้าด้วยทุกครั้ง
      2. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารของบริษัทได้ให้ความระมัดระวังถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่ง โดยได้ปฏิบัติตามกฎและแนวทางของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่จะ เกิดขึ้นกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือจากการประกอบธุรกิจ หรือการมี ส่วนได้เสียจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ รวมถึงกำหนดให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัทต้องปฏิบัติและต้องรายงานการมีส่วนได้เสียของตนตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ต่าง ๆ และตามที่คณะกรรมการบริษัทกำหนดอย่างเคร่งครัด ในกรณีที่กรรมการท่านใดมีส่วนได้เสียในรายการหรือวาระการประชุมใด กรรมการท่านนั้นจะไม่ร่วมพิจารณาวาระการประชุมนั้น ๆ และไม่มีสิทธิออกเสียงในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน บริษัทมีการกำหนดให้มีการควบคุมดูแลไม่ให้ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องนาทรัพย์สินหรือข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้ประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยไม่ชอบอย่างเคร่งครัด รวมถึงมีการมอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับความจาเป็น และความเหมาะสมของรายการนั้น คณะกรรมการตรวจสอบอาจว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญอิสระ เป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการระหว่างกันเพื่อนาไปประกอบการตัดสินใจของคณะกรรมการบริษัท หรือผู้ถือหุ้นตามแต่กรณีไป และเพื่อเป็นการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการป้องกันมิให้กรรมการ และพนักงานของบริษัท แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน โดยกำหนดให้กรรมการและพนักงานหลีกเลี่ยงการทารายการที่เกี่ยวโยงกับตนเองที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท
  5. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญในการกำกับดูแลให้การบริหารจัดการงานของบริษัทเป็นไปตามเป้าหมายและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น ขณะเดียวกันคณะกรรมการบริษัทยังได้คานึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยในการกำหนดโครงสร้าง คุณสมบัติและขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทที่เหมาะสมนั้น ย่อมเป็นประโยชน์ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ซึ่งบุคคลที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริษัทนั้นต้องเป็นผู้มีวัยวุฒิ คุณวุฒิ มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์และวิสัยทัศน์ ทั้งยังต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ตลอดจนสามารถอุทิศเวลาให้กับบริษัทได้ เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติงานในฐานะกรรมการบริษัทได้อย่างเต็มที่และมีความเป็นอิสระในการตัดสินใจ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทและ ผู้ถือหุ้นโดยรวม โดยคณะกรรมการบริษัทได้จัดให้มีคณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ ทำหน้าที่ศึกษา พิจารณา กลั่นกรองและปฏิบัติงานสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้การปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทเป็นไปโดยชัดเจนและมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการบริษัทจึงกำหนดโครงสร้าง กรอบการทางานและอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ ไว้ดังนี้
    1. โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัท
      1. คณะกรรมการบริษัทต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน ตามที่กฎหมายและ/หรือข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้
      2. กรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจะต้องมีถิ่นที่อยู่อาศัยใน ประเทศไทย
      3. คณะกรรมการบริษัทต้องประกอบด้วยกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด แต่ต้องไม่น้อยกว่า 3 คน หรือมีสัดส่วนกรรมการอิสระตามที่กฎหมายหรือ ก.ล.ต. กำหนด
      4. คณะกรรมการบริษัทเลือกกรรมการบริษัทคนหนึ่งให้ทำหน้าที่ประธานกรรมการบริษัทและอาจเลือกกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นรองประธานกรรมการบริษัทได้ตามความเหมาะสม
    2. คุณสมบัติของกรรมการบริษัท กรรมการบริษัทต้องมีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์การทางานอันเป็นประโยชน์ ต่อการดำเนินกิจการของบริษัท รวมถึงไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายบริษัทมหาชนจากัด กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้
    3. คุณสมบัติของกรรมการอิสระ กรรมการอิสระของบริษัทต้องมีคุณสมบัติเกี่ยวกับความเป็นอิสระ ตามข้อกำหนดของกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
    4. การสรรหากรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทได้จัดให้มีการสรรหาและคัดเลือกกรรมการบริษัทและกรรมการชุดย่อยด้วยกระบวนการที่ชัดเจน โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งคณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาคำตอบแทนทำหน้าที่พิจารณาสรรหากรรมการบริษัทและกรรมการชุดย่อย โดยคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาคำตอบแทนได้กำหนดหลักเกณฑ์และนโยบายในการสรรหากรรมการบริษัทและกรรมการชุดย่อย พิจารณาความเหมาะสมของจำนวน โครงสร้าง องค์ประกอบของคณะกรรมการดังกล่าวและกำหนดคุณสมบัติของกรรมการให้เหมาะสมและเป็นไปตามที่กฎหมายบริษัทมหาชนจากัด กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้ เพื่อพิจารณาสรรหา คัดเลือกบุคคลที่มีคุณวุฒิและวัยวุฒิ มีความรู้ ความสามารถและมีประสบการณ์การทางานที่เกี่ยวข้อง โดยมีการพิจารณาประกอบกับความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทักษะและวิชาชีพที่บริษัทยังขาดอยู่ รวมถึงความสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทมาใช้เป็นเกณฑ์การพิจารณาสรรหากรรมการบริษัทและกรรมการชุดย่อยด้วย เมื่อคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาคำตอบแทนได้คัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมกับการได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริษัทหรือกรรมการชุดย่อยแล้ว จะมีการนำเสนอบุคคลที่เหมาะสมให้ดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทหรือกรรมการชุดย่อยนั้นต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี โดยในการเสนอนั้นจะมีการแสดงรายละเอียดที่เพียงพอ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจของคณะกรรมการบริษัทหรือ ผู้ถือหุ้นแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ การแต่งตั้งกรรมการบริษัทโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ข้อบังคับของบริษัทและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้
    5. การสรรหากรรมการอิสระ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาคำตอบแทนทำหน้าที่พิจารณาสรรหากรรมการอิสระ โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกกรรมการอิสระจากคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเข้าเป็นกรรมการอิสระของบริษัท กรรมการอิสระของบริษัทต้องมีคุณสมบัติและความเป็นอิสระตามหลักเกณฑ์และนิยามที่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน และประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือกฎหมาย กฎ ระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ตลอดวาระการดำรงตำแหน่ง
    6. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ระมัดระวัง ใช้ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ที่มีในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้เสีย ลูกค้าและสังคมโดยรวมและเพื่อประโยชน์ของบริษัทในการเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยคณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญ ดังนี้
      1. กำหนดทิศทาง เป้าหมาย และนโยบายในการดำเนินธุรกิจของบริษัทให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
      2. มอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบให้คณะกรรมการชุดย่อย คณะผู้บริหาร ฝ่ายจัดการให้ปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ รวมถึงให้คาแนะนาและกำกับดูแลให้มีการดำเนินงานอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ มติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
      3. พิจารณาความเหมาะสม ให้คาแนะนา กำหนด และอนุมัติวิสัยทัศน์หรือกลยุทธ์ รวมถึงติดตามและดูแลให้มีการนากลยุทธ์ของบริษัทไปปฏิบัติ ตลอดจนควบคุมดูแลการบริหารและการดำเนินงานของบริษัทให้เป็นไปตามนโยบาย กลยุทธ์ แผนงานและเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างสม่าเสมอ
      4. พิจารณา กำหนด และจัดให้มีระบบการรายงานทางการเงินและบัญชี การตรวจสอบภายใน การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมและเชื่อถือได้ เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทเป็นไปด้วยความถูกต้อง โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
      5. จัดให้มีการเปิดเผยองค์ประกอบของคณะกรรมการที่มีความหลากหลาย และข้อมูลกรรมการ อาทิ อายุ เพศ ประวัติการศึกษา ประสบการณ์ สัดส่วนการถือหุ้น จำนวนปีที่ดำรงตำแหน่งกรรมการ และการดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนอื่น ในรายงานประจำปีและบนเว็บไซต์ของบริษัท
      6. จัดให้การสรรหาและคัดเลือกกรรมการมีกระบวนการที่โปร่งใสและชัดเจน เพื่อให้ได้คณะกรรมการ ที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับองค์ประกอบที่กำหนดไว้
      7. รับผิดชอบและดูแลให้มีการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ตลอดจนการปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนและทันเวลา
      8. ไม่ประกอบกิจการหรือเข้าเป็นหุ้นส่วนหรือกรรมการในกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัทและบริษัทย่อย
      9. กรณีที่กรรมการอาจมีความขัดแย้งหรือมีส่วนได้เสียทางผลประโยชน์อื่นใดกับบริษัทหรือบริษัทย่อย (ตามข้อบังคับบริษัท กฎหมาย และตามที่สานักงาน ก.ล.ต. และ ตลท. ประกาศกำหนด) ในเรื่องใด กรรมการผู้นั้นไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น ๆ
      10. การปฏิบัติหน้าที่หรือการอนุมัติกิจการใดที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น กรรมการต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนด
      11. แต่งตั้งกรรมการบริษัทคนหนึ่งหรือหลายคน เป็นรองประธานกรรมการได้ตามความเหมาะสม
      12. แต่งตั้งกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทจำนวนหนึ่งให้เป็นกรรมการบริหารเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างแทนคณะกรรมการบริษัทได้ โดยในการดำเนินการนั้นจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตอำนาจของคณะกรรมการบริษัท โดยมีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของผู้รับมอบอำนาจดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน
      13. แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อปฏิบัติงานสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทได้ โดยคณะกรรมการบริษัทมีอำนาจในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงขอบเขต อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดย่อยได้ตามที่จาเป็นหรือเห็นสมควร
      14. แต่งตั้งกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่กรรมการผู้จัดการ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด โดยคณะกรรมการบริษัทมีอำนาจในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการได้ตามที่จาเป็นหรือเห็นสมควร ตลอดจนติดตามดูแลให้กรรมการผู้จัดการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายและนากลยุทธ์ของบริษัทไปปฏิบัติ
      15. สนับสนุนและส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิม เพื่อให้เกิดมูลค่าแก่ธุรกิจ ควบคู่ไปกับการสร้างคุณประโยชน์ต่อลูกค้าหรือผู้ที่เกี่ยวข้องและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
      16. กำกับดูแลให้มีการจัดทาแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหาร และการพิจารณาด้านการพัฒนาทักษะและคำตอบแทนที่เหมาะสม
      17. ติดตามดูแลความเพียงพอของสภาพคล่องทางการเงินและความสามารถในการชาระหนี้ ทั้งนี้ ในการแต่งตั้งให้ผู้ใดกระทำการแทน จะต้องไม่มีลักษณะเป็นการมอบอำนาจ หรือมอบอำนาจช่วงให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งหรือได้รับมอบอำนาจนั้น สามารถอนุมัติรายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้เสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใด (ตามกฎหมาย ข้อบังคับบริษัท สานักงาน ก.ล.ต. และ ตลท. ประกาศกำหนด) กับบริษัทหรือบริษัทย่อย ยกเว้น เป็นการอนุมัติการเข้าทารายการที่เป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาอนุมัติไว้ ทั้งนี้ ผู้ที่มีส่วนได้เสียในเรื่องดังกล่าวไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น
    7. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของประธานกรรมการบริษัท
      ประธานกรรมการบริษัทมีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญ ดังนี้
      1. กำกับ ติดตาม และดูแลให้มั่นใจได้ว่า การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
      2. ทำหน้าที่ประธานในการประชุมคณะกรรมการบริษัทและการประชุมผู้ถือหุ้น
      3. เป็นผู้ลงคะแนนเสียงชี้ขาดในกรณีที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีการลงคะแนนเสียงเท่ากัน
      4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด
    8. การประชุมคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดให้มีการประชุมปกติเป็นประจาทุกไตรมาส เพื่อพิจารณางบการเงิน การวางนโยบายและการติดตามผลการดำเนินงาน และสามารถกำหนดให้มีการประชุมพิเศษเพิ่มเติมได้ตามความจาเป็น โดยเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณากำหนดการประชุมคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยไว้เป็นการล่วงหน้าตลอดทั้งปี และได้แจ้งให้กรรมการบริษัททุกท่านได้ทราบถึงกำหนดการประชุมดังกล่าว เพื่อให้กรรมการทุกท่านได้จัดสรรเวลาเพื่อมาเข้าร่วมประชุมได้ครบถ้วน ทุกครั้ง ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ประธานกรรมการบริษัท หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการจะจัดส่งหนังสือเชิญประชุม พร้อมทั้งเอกสารการประชุมที่ครบถ้วนเพียงพอให้แก่กรรมการบริษัท แต่ละท่านล่วงหน้าก่อนวันประชุมอย่างน้อย 5 วันทำการ เว้นแต่มีเหตุจาเป็นเร่งด่วนเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัท จะแจ้งนัดประชุมโดยวิธีอื่นและกำหนดวันประชุมให้เร็วกว่านั้นก็ได้ โดยในการประชุมคณะกรรมการบริษัทแต่ละครั้งต้องมีกรรมการบริษัทมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการบริษัททั้งหมดจึงจะครบเป็นองค์ประชุม และต้องมีกรรมการบริษัทอยู่ในที่ประชุม ไม่น้อยกว่าสองในสามในขณะที่ลงคะแนนเสียงในแต่ละวาระ ประธานกรรมการบริษัททำหน้าที่ประธานใน ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ในกรณีที่ประธานกรรมการบริษัทไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธานกรรมการเป็นประธาน หากไม่มีรองประธานกรรมการหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการบริษัทเลือกกรรมการคนหนึ่งที่มาประชุมให้เป็นประธานในที่ประชุม คณะกรรมการบริษัทกำหนดให้เลขานุการบริษัททำหน้าที่บันทึกการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร และหลังจากที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการบริษัท รายงานการประชุมจะถูกจัดเก็บไว้พร้อมสำหรับกรรมการบริษัท และผู้เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบได้ภายในเวลาทำการของบริษัท ทั้งนี้ บริษัทได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริษัท (เฉพาะกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
    9. การถ่วงดุลของกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร บริษัทกำหนดแนวนโยบายในการจัดโครงสร้างคณะกรรมการของบริษัททั้งกรรมการอิสระ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร และกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารอย่างเหมาะสม เพื่อให้การปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทมีการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ บริษัทยังมีนโยบายส่งเสริมให้กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารมีการประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง โดยไม่มีฝ่ายจัดการหรือผู้บริหารเข้าร่วมประชุมเพื่อเปิดโอกาสให้กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารได้อภิปราย หารือประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ หรือเรื่องอื่นใดตามที่เห็นสมควร โดยในการประชุมให้กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
    10. การรวมหรือแยกตำแหน่ง ประธานกรรมการบริษัทและกรรมการผู้จัดการของบริษัท เป็นคนละบุคคลกัน เพื่อแบ่งแยกหน้าที่ ในการกำกับดูแลและหน้าที่ในการบริหารจัดการออกจากกันอย่างชัดเจน โดยประธานกรรมการทำหน้าที่เป็นผู้นาคณะกรรมการบริษัท ในการพิจารณาและให้ความเห็นชอบในนโยบายภาพรวม เช่น วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และนโยบายกำกับดูแลกิจการ ในขณะที่กรรมการผู้จัดการเป็นผู้นาคณะผู้บริหารและฝ่ายจัดการ มีหน้าที่ในการบริหารจัดการบริษัท ตามนโยบายที่คณะกรรมการบริษัทกำหนดไว้
    11. วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการบริษัท ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีทุกครั้ง ให้กรรมการบริษัทซึ่งอยู่ในตำแหน่งนานที่สุดออกจากตำแหน่งจำนวน 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการบริษัททั้งหมด ถ้าจำนวนกรรมการบริษัทแบ่งออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้ ก็ให้ออกโดยจำนวนที่ใกล้ที่สุดกับอัตราส่วนหนึ่งในสาม ทั้งนี้ กรรมการบริษัทที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระดังกล่าวอาจได้รับการเสนอชื่อต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาแต่งตั้งให้กลับเข้าดำรงตำแหน่งต่อไปได้ ยกเว้น กรรมการอิสระที่ไม่ควรมีวาระการดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 3 วาระ หรือ 9 ปี เว้นแต่กรรมการอิสระท่านใดมีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งนานกว่านั้น คณะกรรมการบริษัทอาจพิจารณาความเป็นอิสระ ความเหมาะสม ประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ และชี้แจงเหตุผลพร้อมผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้ถือหุ้นเพื่อประกอบการพิจารณาเลือกกรรมการอิสระที่ดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระติดต่อกันเกินกว่า 3 วาระ หรือ 9 ปี ดังกล่าว เป็นกรรมการอิสระของบริษัทต่อไปได้ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้ว กรรมการบริษัทจะพ้นจากตำแหน่งตามเหตุที่กฎหมายหรือข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้ และในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการบริษัทว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ ให้คณะกรรมการบริษัทเลือกบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่ต้องห้ามตามกฎหมายเข้าเป็นกรรมการบริษัทแทน เว้นแต่วาระของกรรมการบริษัทจะเหลือน้อยกว่าสองเดือน โดยกรรมการบริษัทที่ได้รับแต่งตั้งใหม่จะมีวาระการดำรงตำแหน่งเพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการบริษัทซึ่งตนแทน ทั้งนี้ การแต่งตั้งดังกล่าวต้องผ่านมติอนุมัติของคณะกรรมการบริษัทด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการบริษัทที่ยังเหลืออยู่
    12. การประเมินผลของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อย และกรรมการผู้จัดการ บริษัทมีนโยบายให้คณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยทำการประเมินตนเองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการบริษัท ซึ่งจัดทำแบบประเมินเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
      1. แบบประเมินตนเองของคณะกรรมการบริษัทแบบทั้งคณะ
      2. แบบประเมินตนเองของคณะกรรมการบริษัทแบบรายบุคคล และ
      3. แบบประเมินตนเองของคณะกรรมการชุดย่อยแบบรายคณะ
      นอกจากนี้ บริษัทยังได้มีนโยบายให้กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหรประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการ ผู้จัดการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเช่นเดียวกัน เพื่อให้กรรมการผู้จัดการรับทราบผลการประเมินการปฏิบัติงาน ของตนเอง
    13. การกำหนดคำตอบแหนกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีะบบกรพิจารณาและกำหนดคำตอบแทนกรรมการบริษัท ภายใต้ กระบวนการที่เหมาะสมและสามารถตรวจสอบได้อันจะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาคำตอบแทนเป็น ผู้พิจารณาคำตอบแทนกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยทุกรูปแบบ ทั้งในรูปแบบของค่ตอบแทน รายเดือน คำตอบแทนที่เป็นเบี้ยประชุม และบำเหน็จกรรมการ รวมถึงคำตอบแทนในรูปแบบอื่น ๆ (ถ้ามี) เพื่อ นำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทพิจารณาทบทวนความเหมาะสมก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อ พิจารณาอนุมัติตามลำดับต่อไป ในการกำหนดคำตอบแทนแก่กรรมการบริษัทในทุกรูปแบบ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณา คำตอบแทนจะพิจารณาเปรียบเทียบข้างอิงจากบริษัทในอุตสาหกรรมและธุรกิจที่มีขนาดใกล้เคียงกัน โดย คำตอบแทนจะต้องมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับภาระหน้าที่ ผลการปฏิบัติงานและความรับผิดชอบที่ ได้รับมอบหมาย รวมถึงสามารถจูงใจให้กรรมการที่มีคุณสมบัติและความสามารถมาเป็นกรรมการของบริษัท หรือปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายและทิศทางธุรกิจที่บริษัทกำหนดไว้ได้
    14. การปฐมนิเทศ คณะกรรมการบริษัทกำหนดให้มีการปฐมนิเทศกรรมการใหม่ทุกคน เพื่อให้กรรมการใหม่รับทราบ ความคาดหวังที่บริษัทมีต่อบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของกรรมการบริษัท นโยบายและแนวปฏิบัติ ในการกำกับดูแลกิจการของบริษัท ตลอดจนสร้างความรู้ ความเข้าใจในธุรกิจ กลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์ แผนธุรกิจ และการดำเนินงานต่าง ๆ ของบริษัท รวมถึงการเยี่ยมชมหน่วยปฏิบัติการด้านต่าง ๆ ของบริษัท เพื่อเตรียม ความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการบริษัท
    15. การพัฒนากรรมการบริษัท บริษัทมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้กรรมการของบริษัททุกคนเข้าร่วมการสัมมนาในหลักสูตรการ อบรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (Thai Institute of Directors Association หรือ IOD) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึง องค์กรอิสระหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความรู้ และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น
    16. แผนการสืบทอดตำแหน่ง บริษัทจัดให้มีการจัดทำและติดตามความคืบหน้าของแผนการสืบทอดตำแหน่งที่ครอบคลุมตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการและผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีผู้บริหารที่มีความรู้ ความสามารถ และ ประสบการณ์อันสามารถสืบทอดตำแหน่งที่สำคัญต่อไปในอนาคต และจัดให้มีการทบทวนและร ายงาน แผนการสืบทอดตำแหน่งตามความเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมและเตรียมความพร้อมแก่ผู้บริหาร ระดับสูงในการสืบทอดงานหรือตำแหน่งที่สำคัญของบริษัท บริษัทจะจัดให้มีผู้บริหารระดับสูงเริ่มเข้ารับการ อบรมในหลักสูตร Director Certification Program (DCP) หรือ Director Accreditation Program (DAP) ซึ่งจัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors หรือ IOD) เพื่อสร้างความ เข้าใจในหลักกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่ และความรับผิดชอบของกรรมการบริษัทจดทะเบียน ซึ่งนอกจากจะเป็น การเตรียมความพร้อมแล้ว ยังเป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารในการสนับสนุนคณะกรรมการบริษัทด้วย
    17. เลขานุการบริษัท คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งเลขานุการบริษัทเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายและหลักการกำกับดูแล กิจการที่ดีกำหนด โดยมีขอบเขต อำนาจหน้ที่ และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
      1. มีอำนาจหน้าที่ในการติดต่อและลงนามในเอกสารที่จะแจ้งต่อ ตลท.
      2. มีหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัย์ คณะกรรมการกำกับตลาดทุน และหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกำหนด
    18. คณะอนุกรรมการ/คณะกรรมการชุดย่อย คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยจำนวน 5 ชุด เพื่อช่วยในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของบริษัท ได้แก่
      1. คณะกรรมการบริหาร
      2. คณะกรรมการตรวจสอบ
      3. คณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง
      4. คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาคำตอบแทน และ
      5. คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ
      โดยองค์ประกอบ คุณสมบัติ การประชุม วาระการกำหนดตำแหน่ง ขอบเขตหน้ที่และความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการชุดย่อยแต่ละชุดจะเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดไว้ในกฎบัตร หรือคำสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการชุดนั้น ๆ การประชุมสำหรับคณะกรรมการชุดย่อยได้มีการกำหนดการประชุมไว้เป็นการล่วงหน้ และสามารถ กำหนดการประชุมเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น รวมถึงมีการจัดทำบันทึกการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร และจัดเก็บรายงานการประชุมไว้อย่างเป็นระบบด้วย นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทกำหนดให้มีการเปิดเผยรายละเอียดโครงสร้าง องค์ประกอบ บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบ การปฏิบัติงาน การเข้าร่วมการประชุม จำนวนคำตอบแทนของคณะกรรมการ บริษัทและคณะกรรมการชุดย่อย รวมถึงกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทไว้ใน รายงานประจำปี แบบ 56-1 One Report ด้วย
    19. การสื่อสารและส่งเสริมการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณของ บริษัท คณะกรรมการบริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการเผยแพร่และสนับสนุนส่งเสริมให้เกิด การรับรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือของทุกคนในองค์กร ในอันที่จะยึดถือและปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแล กิจการและจรรยาบรรณของบริษัทอย่างเคร่งครัด เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และความมุ่งหมายในการพัฒนา และยกระดับการกำกับดูแลกิจการของบริษัท คณะกรรมการบริษัทจึงกำหนดนโยบายให้มีการสื่อสารให้ พนักงานทราบถึงนโยบายการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณของบริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยบรรจุเป็น หลักสูตรการปฐมนิเทศสำหรับพนักงานเข้าใหม่ ซึ่งในวันเริ่มงานวันแรกพนักงานจะได้รับการชี้แจงและ ทำความเข้าใจเพื่อยึดถือและนำไปปฏิบัติ และได้สื่อสารให้ทราบถึงนโยบายการกำกับดูแลและจรรยาบรรณ ในทุกช่องทาง เช่น บอร์ดประชาสัมพันธ์ประจำสำนักงานใหญ่ โรงงานและสำนักงานสาขาต่าง ๆ ของบริษัท และบนเว็บไซต์ของบริษัท รวมถึงจัดให้มีกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและกระบวนการในการติดตาม การปฏิบัติตามนโยบายและจรรยาบรรณของบริษัทอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้การ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่ง ๆ เป็นแนวทางหรือความมุ่งหมายเดียวกันทั้งองค์กร
    20. ระบบการควบคุมและตรวจสอบภายใน คณะกรรมการบริษัทได้จัดให้มีระบบการควบคุมและตรวจสอบภายในที่ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้การ ปฏิบัติงานของบริษัทเป็นไปตามเป้าหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวช้อง รวมถึงได้จัดให้มีกลไกการ ตรวจสอบ การถ่วงดุลที่มีประสิทธิภาพอย่างเพียงพอในการปกป้องดูแลเงินทุนของผู้ถือหุ้นและสินทรัพย์ของ บริษัท กำหนดลำดับชั้นของการอนุมัติ และความรับผิดชอบของผู้บริหารและพนักงาน กำหนดระเบียบการ ปฏิบัติงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร กำหนดให้มีหน่วยงานตรวจสอบภายในเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการ ปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานให้เป็นไปอย่างถูกต้อง รัดกุม ป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น และเพื่อให้มีการปฏิบัติ ตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่บริษัทกำหนด รวมทั้งยังมีคณะกรรมการตรวจสอบทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานและการบริหารงานของบริษัท เพื่อให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ มีระบบ รายงานทางการเงินที่น่าเชื่อถือ โดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานที่ได้รับรายงานโดยตรงจากหน่วยงาน ตรวจสอบภายในของบริษัท บริษัทได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานตรวจสอบภายในมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานด้าน ตรวจสอบ และถ่วงดุลได้อย่างเต็มที่ โดยให้ขึ้นตรงและรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า การปฏิบัติงานของบริษัทได้ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดและมีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็น หน่วยงานที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนและการแจ้งเบาะแส ทั้งจากบุคคลภายในและภายนอกบริษัทด้วย โดยในการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ห้วหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในได้รายงานผลการตรวจสอบที่สำคัญให้คณะกรรมการตรวจสอบรับทราบ นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบมีการส่งรายงานความเห็นและข้อเสนอแนะให้คณะกรรมการบริษัท รับทราบว่า ควรปรับปรุงในด้านใดบ้าง
    21. การบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารและจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ อันอาจจะ เกิดขึ้นกับบริษัท โดยได้จัดให้มีคณะกรรมกรบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง เพื่อให้สามารถสนับสนุนการ ดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้มีความครอบคลุมและรอบด้านมากยิ่งขึ้น โดย คณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยงประกอบด้วยกรรมการและผู้บริหารครอบคลุมทุกหน่วยงาน ที่สำคัญของบริษัท เพื่อรับผิดชอบด้านการประเมิน และการบริหารจัดการความเสี่ยงของทั้งองค์กร ซึ่งคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยงจะร่วมปรึกษาหารือ เพื่อประเมินปัจจัยความเสี่ยงหลัก ความเสี่ยงรอง และความเสี่ยงที่ไม่มีนัยสำคัญ พร้อมแนะนำแนวทางแก้ไขวิธีการบริหารจัดการ หรือบรรเทา ผลกระทบจากปัจจัยความเสี่ยงประเกทต่าง ๆ และมีการติดตามความคืบหน้าการดำเนินการอย่างเหมาะสม และต่อเนื่อง รวมถึงจัดทำเป็นรายงานต่อคณะกรรมการบริษัททุกไตรมาสและเปิดเผยใน รายงานประจำปี แบบ 56-1 One Report ด้วย