นโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

ข้อมูลสำคัญ

อนุมัติ ณ วันที่ เห็นชอบโดยคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565
อนุมัติโดยคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565
วัตถุประสงค์การใช้งาน แนวทางปฏิบัติ
ผู้รับผิดชอบ* คณะกรรมการกากับดูแลกิจการ
ผู้ติดตามและรายงาน สำนักกฎหมายและงานกำกับดูแล

* หมายเหตุ : ผู้รับผิดชอบ หมายถึง คณะกรรมการชุดย่อยซึ่งมีหน้าที่ จัดให้มีนโยบาย วางกรอบ แนวทางการกำกับดูแลการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง รวมถึง ทบทวน ให้ข้อเสนอแนะ ติดตาม และประเมินผล การดำเนินการของนโยบาย

ที่มา

บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ("เสริมสุข") ดำเนินธุรกิจด้วยความยุติธรรมและยึดมั่นตาม จรรยาบรรณเครือเสริมสุข รวมทั้งคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนได้เสียจากการดำเนินธุรกิจ นโยบาย การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ("นโยบาย" เป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจและดำเนินการเพื่อป้องกัน การคอร์รัปชั่น รวมถึงเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจและเสริมสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนในอนาคต

ขอบเขตนโยบาย

นโยบายนำมาใช้กับกรรมการของเสริมสุขทุกท่าน ("กรรมการ") ผู้บริหารของเสริมสุข (พนักงานตั้งแต่ระดับ ผู้อำนวยการฝ่ายจนถึงระดับกรรมการผู้จัดการ) และพนักงานของเสริมสุขทุกคน ("พนักงาน" นโยบายได้กำหนดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางให้กรรมการและพนักงานทราบถึงสิ่งที่พึงปฏิบัติหรือเพื่อทราบว่าบุคคลใดจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา ในกรณีที่เกิดข้อสงสัย กรรมการและพนักงานมีหน้าที่ต้องรักษามาตรฐานสูงสุดในการดำเนินธุรกิจ การไม่ปฏิบัติตาม นโยบายอาจถือเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง เป็นการขัดต่อสัญญาและเป็นความผิดอาญาของบุคคลนั้น ๆ และ อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อชื่อเสียงและสถานะของเสริมสุข กรรมการและพนักงานต้องศึกษาและปฏิบัติตาม นโยบายนี้ รวมถึงการแก้ไขเพิ่มเติมที่เสริมสุขอาจประกาศใช้เป็นคราว ๆ ในอนาคต

วัตถุประสงค์และแนวทางปฏิบัติของนโยบายมีดังต่อไปนี้

  1. คอร์รัปชั่น หมายถึง การรับ/ให้สินบนเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์อันไม่ชอบธรรมจากธุรกรรมทางธุรกิจหรือการ กระทำอันฉ้อฉล
  2. กรรมการและพนักงาน จะต้องไม่ยอมรับการคอร์รัปชั่นการคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและหน่วยงานในทุกประเทศที่เสริมสุขดำเนินธุรกิจ
  3. กรรมการและพนักงาน ต้องหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น
  4. กรรมการผู้จัดการ บุคคลหรือกลุ่มคนที่ได้รับการแต่งตั้งจากกรรมการผู้จัดการ มีหน้าที่ติดตามและกำหนดให้มี ระบบรองรับการต่อต้านการคอร์รัปชั่นที่มีประสิทธิภาพ โดยรายงานต่อประธานคณะกรรมการบริษัท และ คณะกรรมการตรวจสอบ
  5. กรรมการผู้จัดการ บุคคลหรือกลุ่มคนที่ได้รับการแต่งตั้งจากกรรมการผู้จัดการมีหน้าที่ทบทวนนโยบายให้ทันสมัย สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ กฎระเบียบ มาตรฐาน และกฎหมาย โดยรายงานต่อคณะกรรมการ บริษัท
  6. กรรมการผู้จัดการและผู้บริหารระดับสูง มีหน้าที่ในการเสริมสร้างความเข้าใจและการปฏิบัติตามนโยบาย
  7. กรรมการและพนักงานจะต้องเฝ้าระวังการคอร์รัปชั่นใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเสริมสุข หากกรรมการพบการคอร์รัปชั่น ให้กรรมการแจ้งการกระทำดังกล่าวแก่ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ หากพนักงานพบการคอร์รัปชั่น พนักงาน มีหน้าที่แจ้งการกระทำดังกล่าวต่อผู้บังคับบัญชา ฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  8. บุคคลที่กระทำการทุจริตคอร์รัปชั่นจะถูกนำส่งเข้าสู่กระบวนการพิจารณาความผิดทางวินัย เมื่อคณะกรรมการ ที่รับผิดชอบได้ตรวจสอบอย่างเพียงพอแล้ว บุคคลผู้กระทำผิดจะถูกกำหนดบทลงโทษอย่างเคร่งครัดตาม กฎระเบียบของเสริมสุขว่าด้วยการประพฤติผิดหรือการละเมิด ในกรณีที่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ ผิดกฎหมายด้วย ผู้กระทำความผิดอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
  9. ผู้บังคับบัญชาทุกระดับต้องดำเนินการให้แน่ใจว่าพนักงานในสายบังคับบัญชาตระหนักถึงนโยบายและ ต้องติดตามการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

นโยบายของเสริมสุขนี้ได้กำหนดขึ้นเพื่อส่งเสริมแนวปฏิบัติและนโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง